สืบเนื่องจากศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลกจากเดิมเป็นกลุ่มประเทศ เศรษฐกิจใหม่
(บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน เวียดนาม และตรุกี) โดยเฉพาะประเทศจีน อินเดีย และเวียดนาม มี
ประชากรรวมถึง 2,500 ล้านคน (กึ่งหนึ่งของประชากรโลก) จึงเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูง
ทั้งด้าน กำลังทรัพย์และขนาดตลาด สหภาพเมียนม่าร์และประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ สามารถเชื่อมต่อตลาดทั้งสามได้โดยสะดวกจึงมีความได้เปรียบในเชิง ยุทธศาสตร์ที่ตั้งที่
จะเชื่อมต่อกับศูนย์ กลางการค้าใหม่ของโลก ประกอบกับด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นผล
ให้โลกของการประกอบธุรกิจไร้พรมแดน การทำธุรกิจสมัยใหม่ไม่มีข้อจำกัดของที่ตั้ง
แหล่งผลิตและตลาดอีกต่อไป แต่ให้สำคัญที่ความสามารถในการควบคุม คุณภาพ ราคา
และเวลาการขนส่ง ระบบลอจิสติกส์จึงเป็นผู้เล่นสำคัญในการบริการ จัดการความได้
เปรียบเชิงธุรกิจพื้นที่ทวาย มีความเหมาะสมสามารถเชื่อมต่อแหล่งผลิต แหล่งวัตถุดิบ และตลาดของโลกได้อย่างมีประสทธิภาพรัฐบาลไทยและสหภาพเมียนม่าร์ได้ลงนาม
ในบันทึกความตกลง (MOU) ที่จะร่วมพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายและโครงการถนนเชื่อม
ต่อทวาย-กรุงเทพ มหานคร เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2551 โดยมีบริษัท อิตาเลี่ยนไทย
ดีเวล๊อปเนต์ จำกัด (มหาชน) เข้าไปลงทุนเช่าที่ดินเพื่อ พัฒนาท่าเรือทวายเป็นระยะ
เวลา 60 ปี โดยได้รับสิทธิ์สัมปทานในการบริหารท่าเรือ และพื้นที่ต่อเนื่องในลักษณะ
สร้าง-บริหาร-โอน (BOT)
ท่าเรือทวายนี้เป็นท่าเรือน้ำลึกธรรมชาติที่มีร่องน้ำลึกถึง 50 เมตร ซึ่งประกอบ ด้วยท่า
เรือพาณิชย์ (Commercial port) และท่าเรืออุตสาหกรรม (Industrial Port) ที่สามารถรองรับ
ปริมาณสินค้าได้ 175 ล้านตัน/ปี และมีการจัดเตรียมพื้นที่หลังท่า 170 ตร.กม.สำหรับพัฒ
นาอุตสาหกรรม ซึ่งบริเวณโครงการเป็นที่ตั้งของแหล่งผลิต ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน
จึงเหมาะสำหรับ เป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมิคอล และเม็ดพลาสติก อีกทั้ง
สหภาพเมียนม่าร์ มีสินแร่อุตสาหกรรมคุณภาพสูงที่มีความพร้อมที่จะพัฒนาอุตสาหกรรม
เหล็กและอิเล็กทรอนิกส์
ทวายนอกจากจะสามารถเชื่อมต่อโลกทางทะเลแล้วจะมีโครงข่ายทางหลวงเชื่อมต่อ
ประเทศไทยผ่านจังหวัดกาญจนบุรี (ทวาย-บ้านเก่า-กาญจนบุรี : A-123) โดย มีระยะทาง
ระหว่างทวายและกาญจนบุรี 230 กม. ซึ่งปัจจุบันบริษัท ITD อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง
ทางขนาด 2 ช่องจราจร และมีแผนจะขยายเป็น 4 และ 8 ช่องจราจรในอนาคต และมีแผน
พัฒนา โครงข่ายทางรถไฟเชื่อมต่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อขนส่งพลังงาน เช่น
ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ อีกทั้งทวายมีท่าอากาศที่มีทางวิ่งคอนกรีตขนาด
มาตรฐาน และมีความพร้อมที่จะพัฒนาเป็นสนามบินพาณิชย์ระดับนานาชาติเพื่อตอบ
สนองการลงทุนในอนาคตอันใกล้
เนื่องจากโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงท่าเรือปากบารา จึงมีผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาโครงการสะพานเศรษฐกิจ (Land Eco-nomic-
Corridor หรือ Land Bridge) ซึ่งเชื่อมทะเลอันดามันและอ่าวไทยด้วยโครงข่ายคมนาคม
(ถนน ราง และ ท่อขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) โดยมีการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตร
เคมีคอลที่บริเวณ
พื้นที่หลังท่าเรือในลักษณะคล้ายกันกับรูปแบบของท่าเรือ ทวายคงไม่
ผิดหากจะกล่าวว่าไทยได้เสียโอกาสทองในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอีกครั้ง ประเทศเรามักมีโครงการที่ดีตั้งท่าสวยหรูแต่ไม่เคยได้ลงมือทำเสียที
โดยปัจจุบันสืบเนื่องจากการคัดค้านด้านสิ่งแวดล้อมโครงการจึงได้ถูกลดรูปแบบ
การลงทุนเหลือเพียงการพัฒนาท่าเรือฝั่งอันดามันเท่านั้น ดังนั้นโครงการพัฒนาท่าเรือ
น้ำลึกทวาย ซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐานการพัฒนาในระดับโลก (เช่นเดียวกับโครงการ Land Bridge) และท่าเรือปากบาราจึงไม่ใช่คู่แข่งกันโดยตรงในระดับภูมิภาคอีกต่อไปแล้ว ซึ่งไทยไม่
สามารถยืมจมูกเพื่อนบ้านหายใจได้ตลอดไปการพัฒนา ท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามัน
จึงยังคงมีความสำคัญและจำเป็นต้องลงทุนเพื่อเชื่อมต่อแหล่งผลิตใหม่และเส้นทาง การค้าของโลก |